รวมคำถาม - คำตอบเกี่ยวกับการร้อยไหมก้างปลา
“ร้อยไหมก้างปลา” เป็นหนึ่งในหัตถการที่คนนิยมทำกัน เพราะสามารถช่วยยกกระชับผิวหน้า พร้อมกับกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจนรอบ ๆ เส้นไหม ซึ่งจะช่วยปรับรูปหน้าให้ยกกระชับขึ้น ทำให้ผิวเรียบเนียน เต่งตึง และริ้วรอยดูตื้นขึ้นได้ในคราวเดียว
สำหรับใครที่สนใจทำการร้อยไหมปรับรูปหน้า แต่ยังไม่รู้ว่าจะร้อยไหมที่ไหนดี? หรือยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการร้อยไหมอยู่ เช่น ร้อยไหมเจ็บไหม? ร้อยไหมอยู่ได้กี่เดือน? หรือร้อยไหมพักฟื้นกี่วัน? ในบทความนี้ เราได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการร้อยไหมมาให้แล้ว ตอบโดยทีมแพทย์อทิตาคลินิก (Atita Clinic) จะน่าสนใจแค่ไหน ไปดูกันเลย!
รวมคำถาม - คำตอบเกี่ยวกับร้อยไหมก้างปลา ตอบโดยทีมแพทย์อทิตาคลินิก
Q: ร้อยไหมก้างปลาคืออะไร?
Q: ร้อยไหมก้างปลาช่วยอะไรได้บ้าง?
Q: ร้อยไหมเจ็บไหม?
A: หากถามว่าการร้อยไหมเจ็บไหม จำเป็นต้องอธิบายแบบนี้
การร้อยไหมเป็นหัตถการที่ยาก และจะได้ผลลัพธ์ที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญของแพทย์โดยเฉพาะ เพราะการที่จะร้อยไหมเพื่อได้ผลลัพธ์ที่ดี เห็นผลจริงนั้น จะต้องวางแนวเส้นไหมไปในชั้นใต้ผิวหนังที่ถูก ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ของแพทย์
ที่อทิตาคลินิกเรามีชื่อเสียงด้านการร้อยไหมปรับรูปหน้า โดยทีมแพทย์ของเรามีประสบการณ์ด้านการร้อยไหมมากกว่า 18 ปี และใช้เทคนิคเข็มทู่ในการร้อยไหม ทำให้ไม่ตัดเส้นเลือด และกระทบเนื้อเยื่อน้อยที่สุด
ถ้าถามว่าร้อยไหมเจ็บไหม ที่อทิตาคลินิกเรามีขั้นตอนการทำที่เป็นมืออาชีพ โดยจะทาครีมยาชา และฉีดยาชาก่อนทำอีกครั้ง คนไข้จึงไม่รู้สึกเวลาร้อยไหม และไม่รู้สึกเจ็บค่ะ
Q: ไหม PDO กับ PCL ต่างกันอย่างไร?
A: PDO (Polydioxanone) วัสดุจากโพลีไดอ๊อกซาโนน เป็นไหมละลายที่ถูกนำมาใช้ในการศัลยกรรมเย็บเส้นเลือดหัวใจโดยจะไม่มีผลข้างเคียงต่อผิวหนังและเส้นไหมจะสลายไปเองภายในระยะเวลา 9-12 เดือน
ไหม PDO ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับวงการความงามด้วยเทคนิคการ ฉีดไหม ร้อยไหม เพราะผลลัพธ์ของเส้นไหมเมื่ออยู่ใต้ผิวหนังจะเกิดการกระตุ้นคอลลาเจนและสร้างเนื้อเยื่อใหม่รวมถึงผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ ทำให้ผิวหน้าตึงกระชับคืนความอ่อนเยาว์
PCL (Polycaprolactone) หรือ พอลิคาโปรแลคโตน มีความยืดหยุ่นสูงและแข็งแรงกว่า PDO สามารถอยู่ในร่างกายได้ 12-18 เดือน ด้วยคุณสมบัติที่สามารถอุ้มน้ำได้ดี ทำให้เส้นไหมไม่แตกหักเปราะง่ายและยึดเกาะผิวได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นคอลลาเจนและเนื้อเยื่อ กักเก็บความชุ่มชื้นให้กับผิว
Q: ร้อยไหมอยู่ได้กี่เดือน?
A: ถ้าเป็นประเภท PDO ทุกชนิดจะละลายหมดใน 9 -12 เดือนค่ะ ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตนตามที่แพทย์แนะนำด้วยนะคะ แต่ถ้าไหมประเภท PCL จะประคองผิวได้ 12-18 เดือน เมื่อครบตามเวลาดังกล่าว ไหมจะสลายไปหมด สามารถมาร้อยเพิ่มได้เรื่อยๆค่ะ
Q: ร้อยไหมกี่วันเห็นผล?
A: เห็นผลการเปลี่ยนแปลงทันทีหลังทำค่ะ
แต่จะให้เห็นผลชัดเจนขึ้นนั้นต้องรอระยะเวลาให้ไหมเซ็ตตัวและเข้าที่
หากต้องการคำตอบว่าร้อยไหมกี่วันเห็นผลนั้น คนไข้จะต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการร้อยไหมเป็นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิว ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการสร้างคอลลาเจนใต้ชั้นผิว ปกติประมาณ 3 – 5 สัปดาห์ และจะเข้าที่เต็มร้อย ในเวลาประมาณ 3 เดือนค่ะ
Q: หลังร้อยไหม บวมกี่วัน?
A: อาการบวมที่เกิดขึ้นจากการร้อยไหมอาจจะเกิดขึ้นได้ในบางเคส มากน้อยไม่เท่ากัน
หลายคนถามว่าร้อยไหมก้างปลาบวมกี่วัน ร้อยไหมเกลี่ยวบวมกี่วัน โดยปกติจะอยู่ที่ 3 – 14 วัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่อาจะเกิดได้ ไม่ต้องกังวลนะคะ ทานยาช่วยบรรเทาอาการได้ จากนั้นจะเริ่มยุบเข้าที่มากขึ้น จนเรียบเนียนเป็นปกติเองค่ะ
Q: ร้อยไหมอันตรายหรือไม่? ร้อยไหมแล้วเป็นไต?
A: ไม่อันตรายค่ะ
แต่ในบางเคส หากร้อยไหมแล้วเกิดรอย หรืออาการบวมช้ำ คงอยู่นานเกิน 1 เดือน กรณีนี้อาจจะเกิดจากเทคนิคการร้อยที่ผิดพลาดค่ะ อาจเพราะวางเส้นไหมในชั้นที่ตื้นเกินไป ถ้าตื้นไม่มากสามารถแก้ไขได้ แต่หากตื้นมาก ๆ จะแก้ไขยากและเกิดเป็นพังผืดที่ผิวได้ค่ะ หรืออีกข้อหนึ่งคือร้อยไหมแล้วเป็นไต ลักษณะก้อนไตสามารถจับและสัมผัสได้ในช่วงแรก อาจเกิดการดึงผิวหนังที่หย่อนคล้อยขึ้นไปกองรวมกัน อาการลักษณะนี้ไม่ได้เป็นถาวร พอไหมเข้าที่ก็จะหายไปเองค่ะ
คำแนะนำ ควรตัดสินใจร้อยไหมกับแพทย์ที่มีประสบการณ์ และคลินิกที่น่าเชื่อถือ เลือกดูรีวิวหลายๆเคส เพื่อให้เกิดความมั่นใจมากที่สุดนะคะ
ที่อทิตาคลินิก ค่อนข้างมีชื่อเสียงด้านการร้อยไหมปรับรูปหน้าเพราะทีมแพทย์ของเรามีประสบการณ์ด้านการร้อยไหมมากกว่า 15 ปี และใช้เทคนิคเข็มทู่ในการร้อยไหม จึงทำให้ไม่ตัดเส้นเลือด และกระทบเนื้อเยื้อน้อยที่สุด
Q: อาการหลังร้อยไหมเงี่ยง?
A: อาการที่อาจเกิดขึ้นได้หลังร้อยไหมก้างปลา หรือไหมเงี่ยง มีดังต่อไปนี้
- ร้อยไหมแล้วอ้าปากกว้างไม่ได้เท่าเดิม : หลังการร้อยไหม สามารถอ้าปากได้ปกติ เพียงแต่ว่าจะอ้าปากกว้างเท่าเดิมไม่ได้ช่วงแรก ซึ่งเป็นผลจากการร้อยไหมที่อาจจะมีการดึงรั้ง แต่ไม่ได้เป็นถาวร อาการดังกล่าวจะเป็นประมาณ 1-2 สัปดาห์ แล้วแต่ case ของแต่ละคน
- รอยไหมแล้วหน้าบุ๋ม : เกิดจากการดึงไหม หากบางท่านผิวหย่อนคล้อยเยอะ อาจจะมีหน้าบุ๋มในบางท่าน แต่ไม่ต้องตกใจไปค่ะ อาการดังกล่าวไม่ได้เป็นถาวร จะหายได้เอง แต่อาจจะใช้เวลาโดยใช้วลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป
- ร้อยไหมแล้วหน้าเป็นคลื่น : อาการจะคล้ายกับร้อยไหมแล้วหน้าบุ๋มค่ะ บางคนจะเหมือนเป็นคลื่นไม่เสมอกันหลังจากการร้อยไหมได้ ซึ่งเกิดจากการดึงไหม พอไหมเซตตัว ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ก็จะหายไปเอง
ร้อยไหมแล้วเป็นก้อนไตได้ : เกิดจากการดึง เคลื่อนย้ายผิวหนัง ที่หย่อนคล้อยขึ้นไปรวมกัน สามารถจับและสัมผัสได้ในช่วงแรก อาการดังกล่าวไม่ได้เป็นถาวร พอไหมเซตตัว ก็จะหายไปเอง - ร้อยไหมแล้วไหมขาด : เกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุหลัก ได้แก่ 1 ใช้เส้นไหมที่ไม่มีคุณภาพ ไหมที่เส้นเล็กเกินไป ทำให้เวลาร้อยแล้วเส้นขาดง่ายหรือไหมหมดอายุ และอย่างที่ 2 คือคนไข้อาจจะอ้าปากกว้างเกินไป หรือมีการแสดงสีหน้ามากจนทำให้ไหมขาด
- ร้อยไหมแล้วหน้าดูเบี้ยว : จริง ๆ แล้ว การร้อยไหมไม่ได้ทำให้หน้าเบี้ยว แต่สิ่งที่ตามองเห็น อาจจะดูเบี้ยว เพราะเกิดได้จากการบวมของยาชา การบวมหลังร้อยไหม และการดึงยกของไหม อาการปากเบี้ยวเกิดขึ้นได้จากยาชา และไม่ได้เป็นทุก Case สามารถหายได้ภายใน 2 ชั่วโมง
- ร้อยไหมแล้วหน้าไม่เท่ากัน : อาจเกิดจากรูปหน้าเดิมของผู้เข้ารับบริการไม่เท่ากันอยู่แล้ว และในระหว่างที่ทำการร้อยแพทย์ แพทย์ไม่ได้ให้ผู้เข้ารับการร้อยไหมส่องกระจก จึงอาจทำให้เข้าใจผิดว่าอาการหน้าไม่เท่ากัน เกิดจากการร้อยไหม
Q: ข้อควรระวังหลังการร้อยไหมมีอะไรบ้าง?
A: ข้อห้าม หรือข้อควรปฏิบัติตัวหลังทำการร้อยไหมปรับรูปหน้า มีดังนี้ค่ะ
- หลังทำการร้อยไหมปรับรูปหน้าแล้วไม่ต้องพักฟื้นค่ะ สามารถทำงานได้ตามปกติ
- หลังร้อยไหมไม่แนะนำให้แต่งหน้าทาครีม หรือแต่งหน้าในทันทีนะคะ เนื่องจากจะมีรอยฝีเข็มเล็กน้อยจากการทำหัตถการ ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้สิ่งสกปรกเข้าไปได้ค่ะ
ในวันรุ่งขึ้นสามารถแต่งหน้า ทาครีมได้ตามปกติค่ะ - ควรงดแอลกอฮอล์ 7 วัน เพื่อช่วยให้ผิวสมานและหายเร็วขึ้น และป้องกันการอักเสบได้ด้วยค่ะ หากทำไม่ได้ หลีกเลี่ยงอย่างน้อย 48 ชม. รวมถึงควรงดของหมักดองด้วยนะคะ
- หลังร้อยไหม ไม่ควรการออกกำลังกายอย่างหนัก ยกของหนัก หากหลีกเลี่ยงได้จะส่งผลดีมากกว่าค่ะ
- ห้ามกด นวด คลึง ประคบ บริเวณแนวที่ร้อยเส้นไหม เพราะเงี่ยงของไหมอาจเคลื่อนและปลดลงได้ จนกว่าไหมจะเซ็ตตัวดีค่ะ
- หลังจากร้อยไหม ไม่ควรคว่ำ หรือนอนตะแคง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียดสีกดทับ หรือสัมผัสผิวกับหมอนประมาณ 1 – 3 วันแรก แต่ไม่ได้มีผลเสียร้ายแรงค่ะ เพียงแค่เส้นไหมอาจเคลื่อน เงี่ยงของไหมอาจเคลื่อน และปลดลงได้ค่ะ
- ควรมาพบแพทย์ตามนัด เพื่อติดตามผล
Q : ร้อยไหมแล้วเป็นรอยนูน ผิวไม่เรียบ?
A: หลังการร้อยไหมมีโอกาสที่จะเป็นรอยนูนขึ้นได้ในบางเคส ซึ่งในกรณีที่เป็นรอยนูน หรือ ผิวไม่เรียบ อาการเหล่านี้จะค่อย ๆ ดีขึ้นในระยะเวลาไม่เกิน 1-2 สัปดาห์
หลักการของการร้อยไหมก้างปลาจะเป็นการดึงหน้า อาจมีอาการบวมไม่เท่ากัน โดยเฉพาะในคนที่ผิวบางอาจจะเห็นชัด แต่จะเป็นเฉพาะในช่วงแรก และจะเริ่มยุบลง จากนั้นจะค่อย ๆ เข้าที่มากขึ้น
แต่หากรอยนูนดังกล่าวคงอยู่นานเกิน 1 เดือน กรณีนี้อาจจะเกิดจากเทคนิคการร้อยไหมที่ผิดพลาด การวางเส้นไหมในชั้นที่ตื้นเกินไป ถ้าตื้นไม่มากยังพอแก้ไขได้ค่ะ แต่หากตื้นมาก ๆ จะแก้ไขยาก และเกิดเป็นพังผืดที่ผิวได้
ดังนั้น ก่อนร้อยไหมจึงควรพิจารณาเลือกแพทย์ที่มีประสบการณ์และดูรีวิวจากคลินิกที่น่าเชื่อถือเท่านั้นเพื่อไม่ให้มีปัญหาหลังร้อยไหม
Q: หลังร้อยไหมเข้า X – ray ได้ไหม?
A: เข้าได้ปกติค่ะ ไม่มีอันตราย
สิ่งที่หลายคนกังวลจากเรื่องนี้อาจเป็นเพราะสมัยก่อนมีการใช้วัสดุในการร้อยไหมเป็น ไหมทองคำ ที่ไม่ละลายค่ะ จึงมีปัญหาเรื่องการเข้าเครื่อง X-ray
แต่ในปัจจุบัน เทคโนโลยีด้านการผลิตเส้นไหม ใช้วัตถุดิบที่ไม่อันตราย และสามารถสลายตัวได้หมด ผ่าน อย. ถึงแม้จะยังมีบางคลินิกที่นำไหมทองคำมาใช้อยู่ เพื่อที่จะได้เพิ่มราคาให้กับเส้นไหม แต่ที่อทิตาคลินิกไม่มีนะคะ
ที่อทิตาคลินิก เราเลือกใช้ไหมที่สั่งผลิตโดยเฉพาะ ลิขสิทธิ์เฉพาะทางอทิตาคลินิก เราเลือกใช้วัสดุเกรดเดียวกับทางแพทย์ใช้ ไหมทุกรุ่นที่เราสั่งผลิต จะใช้เกรดพรีเมี่ยมเท่านั้น ปลอดภัย สลายตัวหมด ไม่ตกค้าง และเลือกใช้แต่ไหม PDO และ PCL ที่กำลังนิยมในปัจจุบันเท่านั้นค่ะ
Q: ร้อยไหมพักฟื้นกี่วัน?
A: หลังทำการร้อยไหมปรับรูปหน้า ไม่ต้องพักฟื้นค่ะ สามารถไปทำงานได้ตามปกติเลย
Q: ร้อยไหมที่ไหนดี?
A: การจะเลือกร้อยไหมหมอไหนดีนั้น ควรเลือกทำกับคลินิกที่น่าเชื่อถือ ใช้เส้นไหมที่ได้มาตรฐานทางการแพทย์ ผ่านการรับรองของอย. และจะต้องทำกับแพทย์ที่มีประสบการณ์ด้านการร้อยไหม เพราะหากทำกับแพทย์ที่ไม่มีความชำนาญ ใช้เทคนิคการร้อยไหมที่ผิดพลาด ก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้ค่ะ